ภาษาไทยผ่านวรรณกรรมของพี่ๆชั้นมัธยม เรียนรู้เรื่องของชีวิต เหตุการณ์ต่างๆ สภาพของสังคม และ ความรู้สึกของตัวละคร ผ่านมุมมองของวรรณกรรมที่มีอยู่หลากหลายและมากมาย พร้อมทั้งดึงเรื่องของหลักภาษาเข้าไปเชื่อมให้เกิดความเข้าใจ และใช้อย่างถูกวิธี
|
|
ในสัปดาห์ที่ ๔ กับการเรียนรู้ภาษาไทยผ่านวรรณกรรมโจนาทาน ลิฟวิงสตัน : นางนวล โดยการอ่านออกในใจ เนื่องจากวันนี้พี่มัธยม ๑ ต้องมีหน้าที่ในการไปรับข้าว และจัดเตรียมอาหารสำหรับพี่ๆมัธยมและคุณครู จึงได้มีการมอบหมายให้พี่ๆไปอ่านต่อเป็นการบ้าน ซึ่งในการอ่านวรรณกรรมได้ใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆหลายคนสามารถเชื่อมโยง และตอบคำถามแสดงมุมมองของตนเองได้อย่างยอดเยี่ยม จากนั้นเชื่อมโยงหลักภาษาที่เรียน เข้ากับการสรุปความเข้าใจผ่านวรรณกรรม คือ การให้สรุปใจความสำคัญของวรรณกรรม ในตอนที่ได้อ่านลงในสมุดของตนเอง
บันทึกการเรียนรู้ของพี่ๆม.๒
ในสัปดาห์ที่ ๔ กับการเรียนรู้ภาษาไทยผ่านมนุษย์สองหน้า โดยการอ่านออกเสียง แบบคนละ ๑๐ บรรทัด ร้อยเรียงกันเป็นเรื่องราวในรูปแบบตามลำดับที่ตนเองนั่ง โดยเริ่มจากฝั่งซ้ายมือของครู ในการอ่านออกเสียง พี่แจ็บ พี่แพรว พี่น้ำ พี่ฝ้าย สามารถอ่านภาษาไทยได้อย่างชัดเจน และอ่านคำที่ค่อนข้างอ่านยากได้ เช่นคำที่เป็นคำทับศัพท์ หรือ คำที่มีวรรณยุกต์ยากๆ เมื่ออ่านออกเสียงจบครูชวนพี่ๆอ่านในใจต่อ ซึ่งในการอ่านวรรณกรรมได้ใช้คำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆหลายคนสามารถเชื่อมโยง และตอบคำถามแสดงมุมมองของตนเองได้อย่างยอดเยี่ยม มุมมองที่พี่ ม.๒ มาเห็นเหมือนกันมากที่สุดในตอนนี้คือเรื่องของความดี เพราะตัวละครตอนนี้กำลังเล่าเรื่องที่ตนเองทำความดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใดเลย ครูเลยชวนพี่ๆเขียนบรรยาย ความดีที่ตนเองเคยทำกับคนอื่น
................................................................................................................................................................................
เรียนและเล่นสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างไร ฉนั้ยจึงต้องมาด้วยกันเสมอ และสามารถควบคู่กันไป อาจจะเสียงดังบ้าง เล่นจนมากเกินไปบ้าง แต่ภายใต้ความวุ่นวายนั้นกลับมีความรู้ เนื้อหา ซ่อนอยู่ข้างในมากมาย
บันทึกการเรียนและเล่นของพี่ๆ ม.๑
ในชั่วโมงต่อมา เริ่มต้นด้วยกิจกรรม กระซิบส่งสาร ตลอดกิจกรรมพี่ๆให้ความร่วมมืออย่างดี และยังสามารถส่งสารที่มีความยาวได้ จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นคิดที่ว่า “นักเรียนคิดว่าหลักการของการอ่านจับใจความสำคัญเป็นอย่างไร?” พี่เบ็ค เป็นการอ่านในรูปแบบที่อ่านให้เข้าใจและดูว่ามีสิ่งใดที่สำคัญครับ พี่เอ็ด การอ่านชนิดหนึ่งซึ่งเราต้องอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญครับ
บันทึกการเรียนและเล่นของพี่ๆ ม.๓
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกแบบกิจกรรมหรือ เกม เพื่อนำมาทำกับเพื่อนๆในชั่วโมงถัดไป ในชั่วโมงต่อมา เริ่มต้นด้วยกิจกรรม กิจกรรมตามล่าหาคำไทยแท้ ตามมาด้วยกิจกรรมใบ้คำภาษาจีน กิจกรรมส่งบอลคำบาลี – สันสกฤต กิจกรรม Super save คำเขมร ซึ่งแต่ละกิจกรรมพี่ๆเป็นคนออกแบบเอง ตลอดทุกกิจกรรมที่ทำ พี่ๆได้ดึงเอาความรู้เดิมเรื่องของคำยืมมาใช้ได้อย่างเยี่ยม เช่น เกมใบ้คำจีนจากท่าทาง ในตอนแรกพี่ๆก็ตอบแบบไม่มีการจัดหมาดหมู่ แต่พอเพื่อนแนะนำว่าเป็นคำจีน ก็จะเริ่มประมวลคำก่อนที่จะตอบ เมื่อทำกิจกรรมเสร็จก็สร้างความเข้าใจกับการออกแบบวิธีสังเกตคำ
..............................................................................................................................................................
ในชั่วโมงต่อมา เริ่มต้นด้วยกิจกรรม กระซิบส่งสาร ตลอดกิจกรรมพี่ๆให้ความร่วมมืออย่างดี และยังสามารถส่งสารที่มีความยาวได้ จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นคิดที่ว่า “นักเรียนคิดว่าหลักการของการอ่านจับใจความสำคัญเป็นอย่างไร?” พี่เบ็ค เป็นการอ่านในรูปแบบที่อ่านให้เข้าใจและดูว่ามีสิ่งใดที่สำคัญครับ พี่เอ็ด การอ่านชนิดหนึ่งซึ่งเราต้องอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญครับ
บันทึกการเรียนและเล่นของพี่ๆ ม.๓
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกแบบกิจกรรมหรือ เกม เพื่อนำมาทำกับเพื่อนๆในชั่วโมงถัดไป ในชั่วโมงต่อมา เริ่มต้นด้วยกิจกรรม กิจกรรมตามล่าหาคำไทยแท้ ตามมาด้วยกิจกรรมใบ้คำภาษาจีน กิจกรรมส่งบอลคำบาลี – สันสกฤต กิจกรรม Super save คำเขมร ซึ่งแต่ละกิจกรรมพี่ๆเป็นคนออกแบบเอง ตลอดทุกกิจกรรมที่ทำ พี่ๆได้ดึงเอาความรู้เดิมเรื่องของคำยืมมาใช้ได้อย่างเยี่ยม เช่น เกมใบ้คำจีนจากท่าทาง ในตอนแรกพี่ๆก็ตอบแบบไม่มีการจัดหมาดหมู่ แต่พอเพื่อนแนะนำว่าเป็นคำจีน ก็จะเริ่มประมวลคำก่อนที่จะตอบ เมื่อทำกิจกรรมเสร็จก็สร้างความเข้าใจกับการออกแบบวิธีสังเกตคำ
..............................................................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น